สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย




สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย

ข้อมูล
สามเหลี่ยมทองคำ เดิมหมายถึงแนวตะเข็บชายแดนรอยต่อสามประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว มีพื้นที่ประมาณ 1.5 แสน ตารางเมตร ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีชนกลุ่มน้อย กองกำลังติดอาวุธอาศัยอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่แถบนี้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ มีโรงงานผลิตเฮโรอีนกระจายอยู่ตามตะเข็บชายแดน การลำเลียงฝิ่นใช้คาราวานล่อลัดเลาะไปตามไหล่เขา มีกองกำลังคุ้มกัน ราคาซื้อขายยาเสพติดว่ากันว่าแลกเปลี่ยนด้วยทองคำ ในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของชื่อ “สามเหลี่ยมทองคำ”

ตำนานสามเหลี่ยมทองคำปิดฉากลง เมื่อรัฐบาลไทยทำการปราบปรามอย่างจริงจัง ในช่วง พ.ศ. 2510 - 2520 มีการผลักดันกองกำลังติดอาวุธออกจากพื้นที่ โดยเฉพาะกองกำลังของขุนส่าที่มีฐานที่มั่นอยู่ที่บ้านหินแตก ในปัจจุบันสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จักว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย

สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงราย) ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน)  มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว บริเวณนี้ยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ที่เรียกว่า “สบรวก”

สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขตบ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน และลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ

ลักษณะการท่องเที่ยง
ชมทิวทัศน์สามประเทศที่สวยงาม โดยเฉพาะยามเช้าจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดินถ่ายรูปคู่กับซุ้มประตูสามเหลี่ยมทองคำ มีวิวแม่น้ำโขงเป็นฉากหลัง บริเวณนี้จะมีเด็กๆ แต่งชุดชาวเขาร่วมถ่ายรูปด้วยช้อปปิ้งซื้อของที่ระลึก มีร้านจำหน่ายของที่ระลึกเรียงรายสองข้างทาง ล่องเรือชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำโขง

นักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 300-400 บาท นั่งได้ 6 คน ที่สามเหลี่ยมทองคำจะมีท่าเรือไว้บริการหลายท่า ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึง เชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกลนักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง

บริเวณสามเหลี่ยมทองคำจะมีจุดที่น่าสนใจ ได้แก่
 - หลักกิโลเมตรสามเหลี่ยมทองคำ


 - ซุ้มประตูโขงสามเหลี่ยมทองคำ


 - ตุงเฉลิมพระเกียรติ



เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสจังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี

 - พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน (พระพุทธนวล้านตื้อ)



ประดิษฐานกลางแจ้ง ณ สามเหลี่ยมทองคำ พระพุทธนวล้านตื้นองค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประดิษฐานอยู่บน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่

สถานที่ตั้ง
บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

การเดินทาง
โดยรถยนต์
จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ขึ้นไปทางทิศเหนือ ใช้เส้นทางสายหลักเส้นทางหมายเลข 1 เดินทางไปถึงบริเวณอำเภอเวียงจัน ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร จะเห็นสามแยกไฟแดง มีป้ายบอก ไปอำเภอเชียงแสนและสามเหลี่ยมทองคำบอกไว้ เลี้ยวขวาเข้าไปตามเส้นทางหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) อีกประมาณ 30 กิโลเมตร จนสุดเส้นทางจะเจอเส้นทางหมายเลข 1290 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทาง 1290 ไปตามถนนเลียบน้ำโขง อีกประมาณ 10 กิโลเมตร

โดยรถประจำทาง
จากเชียงรายนั่งรถบัสสีเขียวสายเชียงราย เชียงแสน


เครดิต : teeteawthai.com




Share on Google Plus

About Travel Game

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวและเกม Travel & Game
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นจะถูกคัดกรองโดยแอดมินก่อนที่จะแสดงผล